การพัฒนาของรถยนต์ไฮบริดสู่อนาคต

การขับขี่รถของผู้คนส่วนใหญอาจจะยังไม่ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวการทำงานของเครื่องยนต์ว่าทำงานอย่างไรและขับเคลื่อนด้วยพลังงานรูปใด ซึ่งปัจจุบันนี้โลกเราได้เน้นไปที่สภาวะโลกร้อนเพื่อเป็นการลดมลพิษสิ่งแวดล้อม ทางอากาศที่ทั่วโลกต่างก็กังวลใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุสาหกรรม ที่ได้ปล่อยของเสียสู่อากาศเป็นประมาณที่ มากพอสมควร ทำให้อุสาหกรรมผลิตรถยนต์ ได้คิดค้นวิจัยจึงได้ผลิตรถยนต์ที่มีการขับเคลื่อนแบบเดิมๆมาเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อน ด้วยพลังงานไฟฟ้าใหม่ โดยไม่ต้องชาร์จไฟ ที่มีเพียงหนึ่งเดียวของโลก กับการเปิดตัวในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยเปลี่ยนน้ำมันให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ส่งไปเก็บยังแบตเตอรี่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 100% ให้ทุกการขับขี่ไปได้ไกลกว่า เหนือทุกข้อจำกัด ควบคุมได้ดั่งใจ เร่ง แรง แซง ทันใจ เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ให้ไม่ธรรมดาอีกต่อไปการเสริมรถยนต์ด้วยเทคโนโลยี อี-พาวเวอร์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ขับขี่ได้รับความ สะดวกมากยิ่งขึ้นทำให้เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนมีมากขึ้นด้วยระบบ  One-Pedal เทคโนโลยีคันเร่งอัจฉริยะที่คนขับรถเหมือนมีคนมาช่วยเราตัดสินใจแทนเราในเหตุการณ์เฉพาะหน้า ไม่จะเร่งแซงหรือชะลอความเร็ว ก็ปลอดภัย มั่นใจ ด้วยเทคโนโลยี One-Pedal ที่สามารถเร่งและเบรกได้ในคันเร่งเดียว ทำให้มุ่งมั่นผลิตรถยนต์ในการสร้างสรรค์รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และเพื่อพลังขับเคลื่อนที่ล้ำสมัย ไม่เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ แต่เพื่อยกระดับมาตรฐานใหม่ของรถยนต์ที่ปลอดภัยสูงสุดทุกการขับขี่ และพลังขับเคลื่อนล้ำสมัยในสังคมยั่งยืน เนื่องจากรถที่ใช้น้ำมันก็เจอปัญหาน้ำมันแพง ปล่อยมลพิษเยอะมากกว่ารถยนต์ ที่ใช้ไฟฟ้าเพียวๆ ซึ่ง รถไฮบริด เป็นรถลูกครึ่งระหว่างรถที่ใช้น้ำมันอย่างเดียว กับรถไฟฟ้าเพียวๆ

การทำงานของเครื่องยนต์ไฮบริด ตัวอย่าง ของรถยนต์ ฮอนด้า และโตโยต้า

ซึ่งตลาดรถยนต์ได้มีากแข่งขันกันสูงมากการทำการตลาดของค่ายรถยนต์ซึ่งมีโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้าด้วยการแจกแถมอุปกรณ์เสริมของรถยนต์พร้อมกับ รับโปรโมชั่นดีๆ จากแต่ละค่ายรถยนต์

Honda e:TECHNOLOGY เป็นชื่อที่ใช้เรียกเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงของฮอนด้า ที่จะถูกนำไปใช้กับทุกผลิตภัณฑ์ของฮอนด้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เป็นหลัก ซึ่งรวมถึงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์อเนกประสงค์ และเทคโนโลยีในการจัดการพลังงานต่าง ๆ โดยฮอนด้าแบ่งประเภทของเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงในรถยนต์ ดังนี้
-ระบบขับเคลื่อนไฮบริด (Hybrid) ที่ผสานการทำงานอันทรงพลังของมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวกับเครื่องยนต์และแบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออน
-ระบบขับเคลื่อนปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid) ที่ผสมผสานการทำงานจากเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า และสามารถรองรับการชาร์จพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกได้ด้วยการเสียบปลั๊ก มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่ต่ำ
-ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% (Battery Electric Vehicle) มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์
-ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Fuel Cell) มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ โดยปล่อยของเสียเป็นหยดน้ำบริสุทธิ์
ฮอนด้า ได้พัฒนาและติดตั้งเทคโนโลยีข้างต้นในรถยนต์หลายรุ่น อาทิ ฮอนด้า อี รถซิตี้คาร์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100%

องค์ประกอบหลักของการทำงานไฮบริดในโตโยต้ามีดังนี้

1.อุปกรณ์แบ่งกำลัง (Power Split Device)
– ทำหน้าที่แบ่งกำลังระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ขับเคลื่อน
2.เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (MG 1)
– ทำหน้าที่สร้างกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อน และเก็บไว้ในแบตเตอรี่ไฮบริด
– ทำหน้าที่เป็นมอเตอร์สตาร์ทเครื่องยนต์
3.มอเตอร์ขับเคลื่อน (MG 2)
– ทำหน้าที่ขับเคลื่อนรถยนต์
– ทำหน้าที่สร้างกระแสไฟขณะชะลอความเร็วและช่วยชะลอ ความเร็วของรถ
4.อินเวอเตอร์
-ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้า เพื่อประจุเข้าแบตเตอรี่ไฮบริดและปรับแรงดันไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อน MG2
5.เครื่องยนต์ สร้างพลังงานโดยใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
-ทำหน้าที่ขับเคลื่อนรถยนต์
-ทำหน้าที่เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้กับ MG1

6.แบตเตอรี่ 12 โวลล์ ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับระบบไฟฟ้าตัวถังและ ECU มีคุณสมบัติคือ
6.1 เป็นระบบปิด
6.2 มีเซนเซอร์อุณภูมิ
6.3 ยี่ห้อ panasonic
6.4 ทนทานกว่าแบตเตอรี่ทั่วๆไป
6.5 ไม่ต้องการการบำรุงรักษา
7.แบตเตอรี่ไฮบริด ทำหน้าที่เก็บและจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง
7.1 MG1 เพื่อการติดเครื่องยนต์
7.2 MG2  เพื่อการขับเคลื่อน
7.3 Compressor ระบบปรับอากาศ
7.4 จ่ายไฟต่อให้กับแบตเตอรี่ 12 โวลล์

รถยนต์ส่วนใหญ่ได้ใช้ ชนิดของแบตเตอรี่ไฮบริดเป็นแบตเตอรี่ชนิด

นิกเกิล เมทเทิล ไฮดราย เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนและเก็บประจุไฟฟ้าสมรรถนะสูง สามารถจ่ายไฟไปยังมอเตอร์ขับเคลื่อน และเก็บกระแสไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างเหมาะสม จึงไม่จำเป็นว่าต้องชาจแบตเตอรี่จากแหล่งจ่ายไฟภายนอก และมี ECU ควบคุมการจ่ายไฟ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

มาตรฐานสำหรับการรับประกันคุณภาพ ของของผู้ผลิตแบตเตอรี่ ไฮบริด คือ ระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันส่งมอบ หรือระยะทาง 100,000 กิโลเมตรแล้วแต่ระยะใดถึงก่อน ในส่วนของการขยาย ระยะเวลารับประกันที่เพิ่มเติม จนถึง 5 ปีนับตั้งแต่วันส่งมอบรถ

ข้อดีของรถยนต์ไฮบริด
-ประหยัดน้ำมันได้ระหว่าง 10-50% ด้วยพลังขับเคลื่อนจากมอเตอร์ไฟฟ้า (มีตัวเลขประหยัดมาตรฐานที่ 20 กิโลเมตรต่อลิตรในทุกสภาวะ)
-เครื่องจะเงียบเมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
-ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ลดสภาวะโลกร้อนได้ส่วนหนึ่ง
ข้อเสียของรถยนต์ไฮบริด
-ราคาค่อนข้างแพง น่าจะยกเว้นการจัดเก็บภาษีอุปกรณ์ส่วนประกอบของรถประเภทนี้ให้มาก
-แบตเตอรี่ราคาแพง ถ้าเสียเปลี่ยนทีก็เป็นแสนราคาเกือบเท่ารถยนต์มือสองกันเลยทีเดียว
-ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงค่อนข้างสูง
-เทคโนโลยีตอนนี้ก็วิ่งได้แค่ความเร็วต่ำ และต้องเติมไฟกันบ่อยๆ และใช้เวลาเติมเป็นชั่วโมง

สรุป ทางเลือกที่ดีที่สุดคือเอาข้อดีของรถทั้งสองชนิดมายำรวมกันจึงกลายเป็น รถไฮบริด ซึ่ง เป็นรถที่มีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและระบบมอเตอร์ไฟฟ้ามาขับเคลื่อนผสมผสานกัน และรูปแบบที่นิยมใช้กันในรถยนต์ไฮบริดปัจจุบัน ก็คือ แบบ Power-split หรือ ซีรีส์-พาราลเรล Series-Parallel Hybrid โดยในช่วงปกติที่ต้องใช้ความเร็วรอบสูงๆ ก็จะใช้ระบบเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน ส่วนในช่วงที่เราใช้ความเร็วรอบต่ำๆ อย่างคนที่ต้องขับขี่รถยนต์ที่วิ่งในเมือง ซึ่งช่วงที่รถติดรถก็จะปรับให้ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าโดยดึงเอาพลังงานออกมาจากแบตเตอรี่ทำงานแทน หรือในช่วงเร่งแซงก็จะใช้ทั้งสองตัวประสานพลังร่วมกัน และด้วยเหตุ จึงมีระบบไฟฟ้าเข้ามาช่วย ทำให้รถไฮบริดมีการประหยัดน้ำมันมากกว่ารถยนต์ทั่วไป